วิกิข่าว:สภากาแฟ
ยินดีต้อนรับสู่ สภากาแฟ พื้นที่สำหรับหารือปัญหาด้านเทคนิค นโยบาย และการดำเนินการ รวมทั้งเสนอแนะการพัฒนาวิกิข่าว. อนึ่ง เนื้อหาในหน้านี้ จะถูกลบออกเป็นระยะ ๆ เพื่อเปิดพื้นที่แก่หัวข้อใหม่ ๆ
|
หัวข้อพูดคุย | |||||
---|---|---|---|---|---|
สภากาแฟ | โพสต์ อภิปรายโครงการทั้งหมด |
(ชื่อชั่วคราว)
คำพาดหัว
เดิมผมเขียนข่าวนี้ใช้คำพาดหัว "ออสซี่" ไม่ได้ใช้ออสเตรเลีย แสดงว่าต้องแก้ไขได้... ทำไงเอ่ย....
- เปลี่ยนหัวข้อข่าวได้โดยการ "ย้ายหน้า" ครับ แต่ไม่รู้ว่าจะเหมาะที่จะใช้ "ออสซี่" หรือเปล่า เพราะทางภาษาอังกฤษมีข้อกำหนดว่า "Avoid jargon and meaningless acronyms" (en:Wikinews:Style_guide#Headlines) ซึ่งก็หมายความว่า จะใช้ชื่อเรียกอย่าง หมีขาว, แดนกิมจิ, เมืองดอกบัว, ผีแดง อะไรแบบนี้ไม่ได้เลย -- PaePae 06:49, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เพิ่งทราบครับว่ามีข้อกำหนดอย่างนี้ด้วย ถือเป็นแบบแผนเดียวกันทุกภาษาเลยหรือครับ ถ้าเช่นนั้นในภาษาไทยคงต้องมาถกกันว่าจะใช้ "แม้ว" แทน "ทักษิณ" "หญิงอ้อ" แทน "คุณหญิงพจมาน" ในคำพาดหัวได้หรือไม่ รวมทั้งคำแทนคำนามจำพวก "หล่อเล็ก" "หล่อใหญ่" "เจ๊ใหญ่" "แดนสะตอ" "บรรหารบุรี" "หงส์แดง" "เสี่ยหมี" ฯลฯ จะสามารถใช้ใน "วิกิข่าวไทย" ได้หรือไม่? นี่ยังไม่พูดถึงคำพาดหัวพวกคำกิริยาที่มีลักษณะรุนแรงประเภท "ฉ้อฉล" "ปล้นชาติ" ฯลฯ นะครับ
แต่่ขออนุญาตแสดงความเห็นส่วนตัวไว้ก่อนเลยว่า ในฐานะที่ผมเป็นนักข่าวอาชีพมาก่อน คิดว่าคำพวกนี้สำคัญมากหากเราจะสร้างให้วิกิข่าวเป็น "สำนักข่าว" จริง ๆ เพราะมันเป็น convention ที่สำคัญของ Journalism เหมือนกับว่าฝรั่งมาเมืองไทยก็พยายามพูด "ซาหวัดดีกรั๊บ" หรือหัดยกมือไหว้ แม้จะดูเคอะเขินแต่ก็น่ารักในสายตาของเจ้าถิ่น (คนไทย) เหมือนกับวิกิข่าวไทยนั่นละ ที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในวงการข่าวมาก่อน แต่เมื่อโดดมาเล่นทางนี้แล้ว น่าจะพยายามทำบางอย่างให้ได้ทัดเทียมกับมืออาชีพ แต่มิใช่ว่าต้องตามเขาทั้งหมด เพราะไอ้ที่แย่ ๆ มันก็เยอะทิ้งไปก็ดีแล้ว แต่ควรคงหัวใจไว้ -- Golffee
- คงต้องดูนโยบายของวิกิมีเดียว่าจะให้เป็นไปอย่างไร (เช่น วิกิข่าว:ภารกิจ) เข้าใจว่าการหลีกเลี่ยง jargon ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามุมมองที่เป็นกลางไปด้วยในตัว เพราะคำศัพท์นั้นใครจะคิดประดิษฐ์ขึ้นมาก็มักจะมีความเอนเอียงอยู่ในตัว
- ผมกำลังไปค้นหาข้อถกเถียงหลาย ๆ อย่างในวิกิข่าวภาษาอังกฤษอยู่ ซึ่งเท่าที่ดูแล้ว ตอนนี้สรุปได้คร่าว ๆ ว่า วิกิข่าวค่อนข้างจะประสบความล้มเหลวอยู่เหมือนกัน เนื่องจากกลไกนั้นยังไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าเราวางแนวทางที่ต่างออกไปอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ตราบใดที่ไม่ขัดกับนโยบายของวิกิมีเดีย ซึ่งถ้าแนวทางต่างกันมาก ๆ จริง ๆ ก็อาจจะต้องไปถกกับวิกิมีเดียเลยมั้ง :-/ -- PaePae 09:41, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ผมเข้าใจอย่างที่คุณบอกมาเลยครับ ว่าการใช้คำพาดหัวมันมีอคติอยู่ในตัวของมัน อย่างคำว่า "หน้าเหลี่ยม" "เลี้ยงแกะ" จำพวกเนี่ยะ แต่ต้องยอมรับว่ามันเป็น "ธรรมชาติ" ของงานข่าว ไอ้ที่มาบอกว่าหนังสือพิมพ์ต้องเป็นกลาง ไม่จริงหรอกครับ... ไม่มีหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนแห่งใดเป็นกลางได้หรอกครับ นักข่าว รีไรเตอร์ กองบ.ก. เป็นมนุษย์กินข่าว เศรษฐกิจไม่ดีก็ถูกตัดเงินเดือนกันทั้งนั้น 555 แล้วทำไมเศรษฐกิจไม่ดีละ ไม่ดีแล้วทำไมไม่แก้ให้มันดีละ กระเป๋านักข่าแห้งแว๊ววว... ไม่แปลกครับ... ที่จะต้องวิพากษ์วิจารณ์วิธีการแก้ไขปัญหารัฐบาลอย่างหนัก เช่นว่า - "อุ้มคนรวย" "ไม่ช่วยคนจน" - พวกนี้ก็เป็นคำพาดหัวซึ่งมี bias ในตัวตั้งแต่แรก เพราะเปิดฉากก็ประนามรัฐบาล ตัดสินเขาเสร็จเลยว่าช่วยแต่เศรษฐี : ) ผมว่าเรื่องนี้ต้องระดมความคิดกันอย่างหนักละครับ ถ้าทางวิกิเขาวางนโยบายไว้อย่างนี้ ... Golffee 03:35, 16 ธันวาคม 2005 (UTC)
อันนี้จาก en:Wikinews:Neutral_point_of_view เค้ากำหนดมาแบบนี้น่ะ
- The neutral point of view attempts to present ideas and facts in such a fashion that both supporters and opponents can agree. Of course, 100% agreement is not possible; there are ideologues in the world who will not concede to any presentation other than a forceful statement of their own point of view. We can only seek a type of writing that is agreeable to essentially rational people who may differ on particular points. -- Jimbo Wales, Wikimedia founder.
จะตีความกันยังไงดี... ถ้าเป็นผม ผมคงสรุปแบบของผมเองว่า
- วิจารณ์ (= ติชม) แต่ห้าม วิพากษ์ (= ตัดสิน)
- มีข้อมูลและหลักฐานประกอบชัดเจนและถูกต้อง และ/หรือ มีข้อมูลโต้แย้ง
แต่แค่ไหนถึงจะเหมาะสมก็ไม่รู้สิ มันเป็นเรื่องที่ว่าจะใช้ไม้บรรทัดของใครวัดกันมากกว่าแฮะ -- PaePae 17:40, 16 ธันวาคม 2005 (UTC)
เสนอคำ "ทัศนะไม่ฝักฝ่าย"
สำหรับวิกิแล้ว Neutral point of view ถือเป็น terminology ที่สำคัญ คำนี้มิใช่เป็น common name หากแต่เป็น proper name เสียแล้ว (ขนาดมีตัวย่อใช้ NPOV แสดงว่าต้องสำคัญทีเดียว) เหมือนกันเราพูดถึงคำว่า "ธรรมศาสตร์" ไม่มีใครคิดหรอกว่าจะหมายถึง "วิชาแห่งธรรมะ" แต่จะคิดถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งตั้งอยู่แถวสนามหลวง เพราะมันเป็นชื่อเฉพาะไปเสียแล้ว...
- "ธรรมศาสตร์" - ผมคิดถึง การเมือง และการต่อสู้ของประชาชน มหาลัยนั้นก็คิดถึง แต่โดยหลักแล้ว คงจะคิดถึงเพราะมันเป็นสถานที่(เริ่มต้น)ของการเคลื่อนไหวเหล่านั้นซะมากกว่า -- 172.208.113.100 11:29, 14 มกราคม 2006 (UTC)
จึงควรสร้างคำนี้ให้หรูหราอลังการกว่า "มุมมองที่เป็นกลาง" 555 นั่นคือเหตุผลแรก แต่เหตุผลที่สำคัญของผมก็คือ ได้อ่านทั้งในใจและอ่านออกเสียงแล้ว ฟังดูมันแม่ง ๆ ไงพิกล รู้สึกว่าจะเป็นการ "ถอดศัพท์" แบบคำต่อคำไปสักนิด ซึ่งก็ถูกต้องที่พยายามรักษารูปเดิมเอาไว้ เพียงแต่ไม่ได้พยายามสร้างคำในภาษาไทยที่ตรงกับความหมายในภาษาเดิมของมันสักเท่าไหร่
มาว่ากันที่ละคำนะครับ :
ทัศนะ - ผมพยายามเก็บรูปศัพท์เดิมเอาไว้คือ point of view แต่ไม่ใช่จะแปลแบบตรง ๆ ว่า "มุมมอง" เพราะคงไม่ได้หมายความว่า ต้องใช้ลูกตาทั้งสองข้างไปมองใครจริง ๆ แล้วเลือกว่าจะใช้มุมมองไหน มองด้าน plan มองด้าน side หรือไม่ก็ bird eyes ฯลฯ ผมว่าคำอังกฤษน่าจะมุ่งหมายถึงวิธีคิด, สำนึก, ความเข้าใจ และการประเมินคุณค่า (ของข่าว) ที่อยู่ "ในหัว" ของคนที่จะเขียนข่าว ซึ่งเป็นนามธรรมอย่างสูงมาก น่าจะเรียกรวม ๆ ได้ว่า "ทัศนะ" ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต (เล่มยักษ์ หนักโคตร) อธิบายว่าหมายถึง "ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง" ซึ่งน่าจะใช้ได้ในกรณี NPOV นะครับ
ไม่ฝักฝ่าย - คำ neutral มักจะเข้าใจกันผิด ๆ ว่า "เป็นกลาง" ลองเปิด Oxford Advance Learner เขานิยามว่า "not supporting or helping either side ... " ไม่สนับสนุึนหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พูดง่าย ๆ คือว่า ไม่ได้อยู่ข้างซ้าย แล้วก็ไม่ได้อยู่ข้างขวาด้วย แต่ไม่ได้แปลว่าต้องอยู่ตรงกลางนะครับ... การแปลว่าเป็นกลางเป็นการแปลแบบตีความอีกทอดหนึ่งจากคำแปลที่แท้จริง เป็นการแปลแบบให้เข้าใจง่าย ๆ ติดปากมากกว่า ผมจึงเสนอคำว่า "ไม่ฝักฝ่าย" แทนนะครับ คือ การไม่เลือกข้าง น่าจะเข้าใกล้ความหมายเดิมในภาษาแม่ของมันที่สุด แต่ตอนนี้ผมยังงง ๆ ว่ามันควรจะเป็น "ไม่ฝักฝ่าย" หรือ "ไม่ฝักใฝ่" กันแน่ เปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตก็หาไม่เจอครับ (เล่มใหญ่ หนักโคตร แต่ประทานโทษ... ) เผอิญไม่ได้จบอักษรฯ แล้วก็ไม่ได้มีแฟนเป็นเด็กอักษรฯ (ทั้งที่อยากใจจะขาด) เลยหมดปัญญา ใครรู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ
จึงเสนอ "ทัศนะไม่ฝักฝ่าย" มาให้ประชาคมพิจารณาครับ (จะต้องมีคำย่อไหมเนี่ยะ ... 'ทมฝฝ' หรือ 'ทม2ฝ' 555) Golffee 04:40, 16 ธันวาคม 2005 (UTC)
- บางทีน่าจะโยนกลับไปถกกันที่วิกิพีเดียนะนี่ เดี๋ยวคำศัพท์ไม่สวยถูกใจทางนู้น เพราะมีใช้เหมือนกัน :-P -- PaePae 17:46, 16 ธันวาคม 2005 (UTC)
- คำย่อเหมือน กอ.สสส.จชต. เลยนะครับ :-P. ผมเห็นด้วยกับคุณ PaePae อ่ะ ลองไปถกกันที่
วิกิพีเดียดีไหมครับ -- Keng 01:32, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)- ไปคุยที่นี่เลยดีกว่าครับ -- Keng 02:07, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- คำย่อเหมือน กอ.สสส.จชต. เลยนะครับ :-P. ผมเห็นด้วยกับคุณ PaePae อ่ะ ลองไปถกกันที่
- Neutral point of view เป็น common name ครับ ไม่ได้มีชื่ออะไรพิเศษ จะเห็นว่าไม่ใช้ Neutral Point of View แต่ใช้ NPOV เพราะง่ายต่อการอ้างถึง แทนที่จะเป็น Npov หรือ NPoV คำว่า "ทัศนะไม่ฝักฝ่าย" ก็เพราะดีครับผมว่าใกล้เคียงกับคำเดิม และคำว่า "ไม่ฝักฝ่าย"กับ"เป็นกลาง" ก็ใกล้ักันนะครับ (ส่วนตัว ไม่ชอบคำว่า "ฝัก"เท่าไร มันใกล้กับภาษาอังกฤษ แฮะแฮะ) แล้วก็อีกอย่างนโยบายวิกิข่าว ไม่จำเป็นต้องตามวิกิพีเดียก็ได้ครับผมว่า คงเอามาดูเป็นแบบอย่างถ้าดีก็เอามาใช้ เพราะว่ากลุ่มคนเขียนอาจจะเป็นคนละกลุ่ม ต้องขึ้นอยู่กับคนเขียนหลักของวิกิข่าวนี้อยู่แล้ว เพราะถ้าไปตามวิกิพีเดีย เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า คนออกนโยบายไม่ได้เขียน คนเขียนไม่ได้ออกนโยบาย จะเซ็งกันเปล่าๆ นโยบายหลักคงมาจากคนที่เขียนในวิกิข่าวนี้--Manop 02:04, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ลืมบอกไปว่า "สภากาแฟ" น่าจะหาชื่อใหม่นะครับ มันไม่ค่อยเป็น ศูนย์ข่าวเท่าไร
- ผมเห็นว่าถ้าจะใช้คำไหน ก็ใช้คำเดียวกันไปเลยครับ ทั้งวิกิพีเดีย แล้วก็วิกิข่าว ทีนี้ที่ตอนนั้นผมถอดศัพท์มาเป็น "มุมมองที่เป็นกลาง" เพราะว่า คำว่า "มุมมอง" มันก็เป็นคำที่ถอดมาจาก "Point of view" อยู่แล้ว เช่นเวลาเขียนนิยายเนี่ยะ ผมก็รู้สึกว่าจะใช้คำนี้ ผมเลยพยายามคงคำนี้ไว้น่ะครับ ทีนี้ที่ใช้คำว่าเป็นกลาง เพราะว่าคำว่า "ความเป็นกลาง" (รวมถึงในกรณีที่พูดถึง "ความเป็นกลางของสื่อ") เป็นคำที่ใช้กันทั่วไป และมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Neutral นอกจากนี้ในบทความw:WP:NPOV แม้ในฉบับอังกฤษเอง ก็มี section หนึ่งที่เขียนว่า NPOV ไม่ใช่ว่ามีความเห็นอยู่ตรงกลาง ผมเลยคิดว่าถ้าแปลตามตัวก็น่าจะให้ความหมายสอดคล้องกันดีกับของภาษาอังกฤษ
- อย่างไรก็ตามจะเอาคำไหนก็ได้ครับ "ทัศนะไม่ฝักฝ่าย" ก็ฟังหรูหราดี แต่ยังไม่ชิน อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย --- Jittat (โทษทีไม่มี account ที่ วิกิข่าว)
เรื่องที่ต้องคุยกัน
ด้วยลักษณะของวิกิข่าวที่แตกต่างไปจาก วิกิพีเดีย ผมเลยคิดว่าเราน่าจะมีการพูดคุยกันในหัวข้อพวกนี้เพื่อกำหนดเป็นแม่แบบของวิกิข่าวอ่ะครับ
- Layout ของหน้าเว็บ ผมว่าอันนี้สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น
- การวางพาดหัวหลัก
- การวางพาดหัวรอง
- คอลัมน์
- ฯลฯ
- น่าจะมาตกลงเรื่องส่วนเนื้อหาของข่าวว่าควรจะเอาอะไรไว้ตรงไหนดีใน
- อย่างเช่นตอนนี้มีการจัดรูปแบบ แบบนี้
1. Template:หน้าหลัก ข่าวทันโลก 2. Template:หน้าหลัก ข่าวเด่น 3. Template:หน้าหลัก ข่าวเด่น2 4. Template:หน้าหลัก ข่าวเด่น3 |
- ดูๆ ไปแล้วประกาศกรมอุตุฯ ก็ไม่น่าจะมา่อยู่ใน Template:หน้าหลัก ข่าวเด่น2 (หรือเปล่า?) ครับ เรื่องอย่างนี้น่าจะอยู่ใน Breaking News?
- ความเป็นกลางในการนำเสนอ
- ฯลฯ
ลองออกแบบมาคุยกันได้ครับ เพราะหน้าตาหลักตอนนี้เอามาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นหลัก ส่วนข่าวเด่น2 ข่าวเด่น3 เป็นแค่ชื่อสำหรับวางเลย์เอาต์ตอนนี้มากกว่า อาจจะลองคิดว่าตอนนี้มีข่าวจะเขียนวันละประมาณกี่เรื่องนะครับ ถ้าเยอะกว่า 20 เรื่องต่อวัน อาจต้องวางเลย์เอาต์ใหม่ --Manop 03:18, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
การที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งปรากฎเป็นข่าว แสดงว่าเป็นเรื่อง "เด่น" อยู่ในตัวอยู่แล้่ว เพราะฉะนั้นไม่ควรจะมี ข่าวเด่น 1 ข่าวเด่น 2 ฯลฯ ฟังดูแล้วตลก ๆ อะครับ เอาตามจริงเลยนะครับ... เวลานักข่าวเขาเรียกข่าวที่อยูีในหน้าหนึ่ง น.ส.พ. เขาก็เรียกไปเลยครับว่า ข่าวหนึ่ง ข่าวสอง ข่าวสาม ข่าวสี่ ฯลฯ ซึ่งโดยมากแล้วก็มักจะมีประมาณ 6-7 ข่าว ผมว่าเรียกอย่างนี้สะดวกและเข้าใจง่ายกว่า
หากเป็นสำนักข่าวก็จะมีข่าวเพิ่มอีกแบบคือ breaking news หรือเรียกว่า "ข่าวต้นชั่วโมง" หรืออาจเรียกว่า "ข่าวเบรก" ก็ได้ ก็ข่าววิทยุหรือโทรทัศน์ที่ต้องรายงานกันทุก ๆ ต้นชั่วโมงนั่นละครับ... ผมว่าควรจะแยกตรงนี้ให้ชัด เพราะมันเป็นการ "อัพเดท" ข่าวให้ทันท่วงที ข่าวจำพวกนี้ไม่ต้องมีเนื้อความสมบูรณ์ มีเพียงแค่ "คนร้ายบุกถล่มศาลากลางจังหวัด" ก็ได้แล้ว ส่วนเนื้อหาตามมาที่หลัง ส่วนจะให้เป็นข่าวหนึ่ง ข่าวสอง ฯลฯ ค่อยว่ากันอีกที
เสนอแนะคร่าว ๆ นะครับ... บางอย่างก็ไม่แน่ว่าจะเอามาใช้ได้หรือไม่ เพราะนี่เป็นไซเบอร์สเปซ ไม่ใช้หน้ากระดาษสี่เหลี่ยมมีพื้นที่จำกัด Golffee 16:18, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
ชื่อ
ช่วยเสนอชื่อ หน้าที่สำคัญ
Newsroom / Community Portal /ศาลาประชาคม(วิกิพีเดีย)
เป็น "ศูนย์รวมของชุมชน" อธิบายว่าอะไรอยู่ที่ไหน เป็นเหมือนหน้าสารบัญของวิกิข่าวทั้งหมด ภาษาอังกฤษชื่อ en:Wikinews:Newsroom ในวิกิพีเดียใช้ชื่อ ศาลาประชาคม กับ ร้านการ์ตูน
ไปสำรวจดูจากภาคภาษาอังกฤษ
- Community Portal => en:Wikinews:Newsroom
- เสนอ ห้องข่าว, ศูนย์ข่าว, สำนักข่าว (ฟังดูใหญ่ไปมั้ย?)
- ตาม ห้องข่าว
- ห้องข่าวเหมือนกันครับ -- Keng 02:38, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เสนอ ห้องข่าว, ศูนย์ข่าว, สำนักข่าว (ฟังดูใหญ่ไปมั้ย?)
Water cooler / Village Pump / สภากาแฟ (วิกิพีเดีย)
เป็น หน้าสำหรับพูดคุยวางนโยบาย ลงความเห็น ว่าควรจะออกแบบ เขียน วางแผนวิกิข่าวเป็นอย่างไร ชื่อภาษาอังกฤษ Water cooler มาจากตู้กดน้ำตามออฟฟิศ ที่พนักงานเอาไว้ใช้คุยกัน
- Village Pump - เหมือนสภากาแฟ หรือ สภาการ์ตูน ในวิกิพีเดีย
- Village Pump => en:Wikinews:Water cooler
- เสนอ สภากาแฟ, ห้องกาแฟ, ห้องพักนักข่าว
--PaePae 11:57, 13 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ตาม ห้องพักนักข่าว ครับ --Manop 20:00, 13 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ตอนนี้มี วิกิข่าว:สภากาแฟ เป็นหน้าชั่วคราวไปก่อน ถ้ามีชื่อใหม่ ก็เปลี่ยนชื่อหน้านี้เลยนะครับ --Watcharakorn 12:58, 14 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ห้องพักนักข่าว? -- Keng 02:38, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- สำนักข่าว? โรงพิมพ์? -- Wap 09:10, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
Portal
เป็น หน้าเหมือนชุมชนเหมือน Newsroom + Water cooler ย่อยออกมากแยกหน้าพิเศษ สำหรับกลุ่มคนที่ต้องการคุยเฉพาะเรื่องกลุ่ม ทางภาคภาษาอังกฤษมีระบบ Portal สำหรับข่าวแต่ละหมวด เช่น en:Portal:Thailand, en:Portal:Crime and law เราจะใช้คำว่าอะไรดี?
- เสนอ ฝ่ายข่าว--PaePae 12:24, 13 ธันวาคม 2005 (UTC)
- หมวดข่าว -- Keng 02:38, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ผมยังคิดไม่ออก แต่คิดว่าตอนนี้คงยังไม่มีสร้างมั้งครับ วิกิข่าวไทยยังไม่ใหญ่--Manop 02:56, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
(นอกเรื่อง) ดูที่ en:Portal:Thailand แล้วดูแต่ละข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยสิ -_-" --PaePae 12:26, 13 ธันวาคม 2005 (UTC)
- คอลัมน์? --Wap 09:11, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
จะช่วยคิดนะครับ... แต่ขอให้อภิปรายในรายละเอียดหน่อยได้ไหม ว่าแต่ละอันมันคืออะไรกันบ้าง เยอะไปหมดเลย เช่น "สภากาแฟ" กับ "ห้องข่าว" ต่างกันอย่างไร แล้วฝรั่งมันเรียกว่าอะไร บอกตรง ๆ ว่าอ่านข้างบนนี้สับสนไปหมด เหอ เหอ เพราะเราก็ยังไม่ได้เข้าไปทุกหน้าเสียด้วย Golffee 16:21, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
namespace
namespace ของ หน้าโครงการจะใช้ เป็น "วิกิข่าว:___" หรือ "Wikinews:___" ครับ เพราะจะได้แยกหน้าเป็น "หน้าเนื้อหา" กับ "หน้าโครงการ" ปัจจุบัน ถ้าชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า "Wikinews" โปรแกรมจะไม่นับหน้าเป็นจำนวนข่าว จะแยกเป็นหน้าโครงการ เหมือนที่เห็นด้านบน ตอนนี้เป็นโครงการเพิ่งเปิดใหม่ จะได้ตั้งไว้ตั้งแต่แรก และไม่มีปัญหาทีหลังครับ หน้าอื่นๆ ตอนนี้
- แม่แบบ เป็น ภาษาอังกฤษ Template:___
- โครงการ เป็น ภาษาอังกฤษ:Wikinews:___
- ผู้ใช้ เป็น ภาษาไทย ผู้ใช้:___
หรือมีนโยบายจะเปลี่ยน namespace เร็วๆนี้หรือเปล่า (วิกิพีเดีย ยังไม่ได้เปลี่ยนตอนนี้) --Manop 21:30, 12 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ก็คิดว่า คงจะเสนอให้เป็นภาษาไทยหมดเหมือนกับวิกิพีเดีย ถ้าข้อสรุปที่วิกิพีเดียพร้อมก็น่าจะทำพร้อมกันเลย --PaePae 11:57, 13 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เนมสเปซของโครงการเปลี่ยนเป็น วิกิข่าว: ไปแล้วนะครับ -- PaePae 07:39, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ^_^ เยี่ยมครับ --Manop 02:16, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
ข้อแตกต่าง ระหว่าง WP และ WN
ช่วยกันเขียน ข้อแตกต่างระหว่าง วิกิพีเดีย กับ วิกิข่าว นะครับ จะได้เป็นแนวทางว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ใน Wikinews:ข้อแตกต่างระหว่างวิกิข่าวกับวิกิพีเดีย
ขนาดตัวอักษร
เห็นว่ามีการแจ้งมาว่า ตัวอักษรเล็กไปนะครับ ผมใช้ FF อยู่ ก็ว่าไปก็ค่อนข้างเล็กเหมือนกัน แต่ IE ไม่มีปัญหา --Manop 01:25, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ช่วยดูๆ หน่อยครับว่าตัวอักษรเล็กไปหรือเปล่า จากเว็บเบราว์เซอร์อื่น ๆ ถ้าเราแจ้งว่าเล็กไป เขาจะแก้ให้ขนาดอักษรใหญ่ขึ้น หรือว่าเหมาะสมแล้ว --Watcharakorn 13:51, 15 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ตอนนี้ FF ไม่มีปัญหาครับ เดี๋ยวผมถ้ามีเวลาเข้าคณะจะไปเช็คดูใน Safari กับ IE for Mac ครับ --Manop 02:15, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
- ใน Safari ไม่มีปัญหานะครับ ใน Opera ก็โอเคครับ แต่ยังไม่ได้ลองกับ Camino ครับ -- Keng 02:41, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
Hello !
Hi from the french speaking side of the wikinews, as I do not read thai (a big mistake, i understand that now ...) i am using this page as i do not where you hide your coffee/Water/Smoking room.
Good Luck and if you need news or statements from here don't forget to ask !! fr:Utilisateur:Divol
ข่าวเด่นประจำปี 2548
เป็นธรรมเนียมของสำนักข่าวทุกแห่งจะต้องจัดอันดับ TOP 10 ของข่าวที่นำเสนอในรอบปี ไม่ว่าข่าวเด่นหรือข่าวหมวดต่าง ๆ อาทิ การเมือง เศรษฐกิจ บันเทิง ฯลฯ ศูนย์ข่าววิกิก็สมควรจะทำตาม "ขนบ" นี้เช่นกัน... ที่สำคัญ "เครื่องมือ" ในการรายงานข่าวของเราเหนือกว่าสำนักข่าวอื่นใด เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชคมมีส่วนร่วมอย่างเสรี ใครคิดว่าข่าวไหนเด่น ไหนแรง ไหนจ๊าบสุด ไม่ต้องส่ง sms มาโหวตกันแบบทีวีบางช่องทำหรอกครับ มาช่วยกัน post ช่วยกัน edit กันดีกว่า
เพียงแต่การนำเสนอต้องเป็นในลักษณะ "รายงานพิเศษ" ฉะนั้น ท่านผู้ใดที่สามารถจัดการได้ เช่น อาจทำ template ข่าวเด่น (top news) 10 ข่าว - ข่าวการเมือง 10 ข่าว ฯลฯ ให้ทุกคนเข้ามาเขียนได้เลย ก็จะดีมากครับ... : ) โดยรูปแบบจะประกอบด้วยสองส่วน คือ 1) หัวเรื่องของข่าวนั้น เช่น "ไทยรักไทยชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียว" และ 2) เป็นบทบรรยายความว่าทำไมอะไรการที่ ทรท. เป็นรัฐบาลพรรคเดียวถึงเป็นข่าวเด่นแห่งปี ก็ว่ากันไป เช่น มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ยึดรัฐสภา ฯลฯ
ว่าแต่เราจะจัดอันดับข่าวอะไรกันบ้างละ แน่นอนว่าโดยหลักต้องมีข่าวเด่น-ข่าวการเมือง-ข่าวเศรษฐกิจ-ข่าวกีฬา ฯลฯ แต่สำหรับประชาคมข่าววิกิแล้ว สมควรสร้างหมวดพิเศษที่อยู่นอกเหนือความสนใจของสำนักข่าวกระแสหลัก อาทิเช่น 10 อันดับข่าวขายชาติแห่งปี (ฮา) อันดับหนึ่ง เอฟทีเอ อันดับสอง ขายหุ้นรสก. อันดับสาม ยกกิจการ IT ของประเทศให้บิล เกตส์ .... เป็นต้น 555 > Golffee 04:50, 25 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เข้ามาฮาคุณ Golffee (ฮา) -- Keng 08:57, 25 ธันวาคม 2005 (UTC)
ฉายาแห่งปี 2548
สืบเนื่องจากข้อหารือก่อนหน้า เป็นเรื่องทำนองเดียวกันครับ การตั้งฉายาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักข่าวไทย (ไม่เคยเห็นฝรั่งมันทำกันเลย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวการเมือง ประชาคมข่าววิกิจะเอาบ้างไหมครับ
หากจะทำก็ขอเสนอว่า อย่าเลียนแบบนักข่าวกระแสหลัก (อีกแล้ว... อะไรก็กระแสหลัก 555) เราควรสร้างรูปแบบของเราเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง ส.ส. หรือ ส.ว. อาจจะตั้งฉายาให้บุคคลที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อสาธารณะ เช่น คุณหญิงพจมาน (เฮ้ย... 555), น้องแหม่ม เบนโล, คุณหญิงพรทิพย์ แห่งสึนามิ, สนธิ ลิ้ม, เสี่ยเช ซีทีเอ๊กซ์ ฯลฯ
เรียนปรึกษาหารือ เพื่อสร้างกิจกรรมให้ศูนย์ข่าววิกิมีความเคลื่อนไหวอย่างหนุกหนานกว่านี้ เพราะผมรู้สึกว่าเวลานี้หลายคนยังเกร็ง ๆ จด ๆ จ้อง ๆ อาจเป็นเพราะมันคือ "การเขียนข่าว" ซึ่งเคยเป็นกิจกรรมของวิชาชีพเฉพาะมาก่อน เลยกลัวว่าจะผิด กลัวว่าเราจะทำไม่ได้... เลยอยากให้มีักิจกรรมในลักษณะ subjective มาผสมบ้าง > Golffee 05:02, 25 ธันวาคม 2005 (UTC)
- เห็นด้วยกับคุณ Golffee ครับ อยากให้หนุกหนานและทุกๆ คนสามารถมีส่วนร่วมได้ครับ มาเริ่มกันเลยไหม?? -- Keng 08:56, 25 ธันวาคม 2005 (UTC)
สำนักข่าว vs นสพ.
เหมือนวิกิข่าว(ภาษาอังกฤษ) เริ่มแรกขึ้นมา มีความตั้งใจจะให้เป็น "แหล่งข่าว"/"สำนักข่าว" ทำนองเดียวกับ สำนักข่าวเอพี หรือ รอยเตอร์ หรือถ้าเมืองไทย ก็คงเป็น สำนักข่าวไทย โดยให้เปิดให้มีการรายงานข่าวเข้ามาได้อย่างเสรี (รวมทั้งการแปล/เรียบเรียงจากแหล่งข่าวอื่น - ทุติยภูมิ) — คือตั้งใจจะให้เป็น แหล่งข่าว เพื่อให้คนอื่น ๆ นำไปใช้ต่อ ไม่ได้ตั้งใจจะทำตัวเป็น "หนังสือพิมพ์ออนไลน์" ที่จะให้คนเข้ามาอ่านในเว็บวิกิข่าว (หมายถึงต้องการให้คนอ่านข่าวจากวิกิข่าว แน่นอนไม่งั้นจะเขียนกันทำไม แต่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาอ่านในเว็บ wikinews.org น่ะ .. เหมือนเราอ่านข่าวในเว็บ CNN แล้วที่ย่อหน้าแรก เค้าเขียนว่า ข่าวจากรอยเตอร์ อะไรประมาณนี้ วิกิข่าวคงอยากเป็นรอยเตอร์ มากกว่าจะเป็น CNN)
จาก วิกิข่าว:ภารกิจ
- " แนวคิดของวิกิข่าว ก็ไม่ได้ต่างไปจากนั้น วิกิข่าวเป็นแหล่งข่าวเสรี "
- " เสนอทางเลือกใหม่นอกเหนือไปจากสำนักข่าวแบบเดิม ๆ เช่น เอพี หรือ รอยเตอร์ ซึ่งเปิดโอกาสให้สื่ออิสระอื่น ๆ ได้มีแหล่งข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพไว้อ้างอิงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย "
ผมเห็นถกเรื่องนโยบายกัน เลยคิดว่า คงต้องคุยกันก่อน ว่าอยากให้วิกิข่าวไทยเป็นอะไร เพราะมันจะมีผลต่อการตัดสินใจเรื่องอื่นด้วย (ถ้าจุดหมายมันไม่ร่วมกันแล้ว ..ของที่ได้ มันก็คงดูอีหลักอีเหลื่อครึ่ง ๆ กลาง ๆ)
เช่น ยกตัวอย่าง
- เรื่อง "jargon"/"ภาษาปาก" ที่ว่ากันข้างบน - ถ้าจะเป็นสำนักข่าว (เขียนข่าวให้สื่ออื่น ๆ เอาไปใช้อีกที) ก็ไม่ควรจะมี, ถ้าจะเป็นนสพ.ออนไลน์ (เขียนข่าวให้คนทั่ว ๆ ไปอ่านโดยตรง) ก็อาจจะมีได้ เป็นสีสันให้น่าติดตาม ทำนองนี้
- ความเป็นกลาง วิพากษ์วิจารณ์ ความคิดเห็น - ถ้าจะเป็นสำนักข่าว ก็น่าจะตัดเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ไปได้เลย มีหน้าที่เสนอเรื่องราวอย่างมันปรากฏขณะนั้นเท่านั้น (พร้อมอ้างอิงเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นการปูพื้นได้ แต่ไม่มีการใส่ความคิดเห็นเพิ่มเติมลงไป) แต่ถ้าจะเป็นนสพ.ความเป็นกลางก็คงไม่ต้องตรงเผง ผมคิดว่าบทบาทของนสพ.ส่วนหนึ่งนอกจากจะรายงานสิ่งที่เป็นไปแล้ว ยังต้อง (ชี้นำ/แนะนำ/เตือน/ตั้งคำถามกับ) สังคมถึงเรื่องจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นด้วย สิ่งที่นสพ./ทีวีมี แต่สำนักข่าวไม่มี ก็คอลัมน์ต่าง ๆ รายการวิเคราะห์ข่าวนี่แหละ .. ซึ่งพวกนี้มันไม่เป็นกลางทั้งนั้น แต่ถามว่ามีประโยชน์มั๊ย มีแน่นอน
ผมพูดอย่างนี้ได้มั๊ย ? .. นสพ.(และสื่อประเภทเดียวกัน) คือผู้เอาข่าวจากสำนักข่าว มาเชื่อมโยงกับผู้อ่าน (ซึ่งก็มีหลายกลุ่มต่างกันไป) ว่าข่าวนี้สำคัญกับคุณอย่างไร ทำไมคุณต้องรู้ รวมทั้งเป็นผู้คอยรวมรวมปะติดปะต่อเหตุการณ์หลาย ๆ อย่าง มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกัน แล้วนำเสนอต่อผู้อ่าน ว่า เออ ภาพรวมมันเป็นงี้ ๆ นะ (ซึ่งถ้าผู้อ่านอ่านข่าวเป็นชิ้น ๆ แยก ๆ กัน แม้จะทุกชิ้น แต่ก็อาจจะยังมองไม่เห็นก็ได้) ข่าวชิ้นเดียวกันจากสำนักข่าวเดียวกัน ก็อาจจะมีผลกระทบต่อกลุ่มคนที่ต่างกันในแง่มุมไม่เหมือนกัน นสพ.ที่เสนอข่าวให้แต่ละกลุ่ม ก็คงต้องเสนอข่าวให้แตกต่างกัน (ข่าวหวัดนก ชิ้นเดียวกัน ถ้าเสนอในเมืองไทย ก็คงต้องมีแง่มุมของเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบอยู่ในการนำเสนอ ถ้าเสนอในยุโรป ก็คงต้องมีเรื่องว่าตอนนี้รัฐมีมาตรการยังไงในการตรวจสอบเนื้อไก่นำเข้า)
แล้ว วิกิข่าวไทย จะเป็น สำนักข่าว หรือจะเป็น นสพ. ?
ป.ล. มีใครหาคำที่ดีกว่า นสพ.ได้มะ ? (สื่อสารมวลชน?)
-- bact' วันเด็ก 49
ลงทะเบียนแล้ว! -- Bact 13:25, 14 มกราคม 2006 (UTC)
ตัวอย่างนโยบาย แนะนำ “ ประชาไท ” (ไม่ต้องทำตามนั้น แค่ให้ดูเป็นตัวอย่าง) -- bact' 13:48, 14 มกราคม 2006 (UTC)
เดี๋ยวนี้แยกกันยากแล้วนะครับระหว่าง "สำนักข่าว" กับ "หนังสือพิมพ์" นับแต่มีอินเตอร์เน็ท สมัยก่อนใครจะเอาข่าวจากสำนักข่าวไทยต้องจ่ายตังค์นะครับ แล้วเขาก็จะให้มอไซต์เอาสมุดข่าว (กระดาษเอสี่โรเนียว) มาส่งตามโรงพิมพ์สมาชิก วันละสองรอบ แต่ก่อนใครจะเอาข่าวและภาพข่าวจากรอยเตอร์ ต้องตั้งจานดาวเทียมครับ พร้อมตัวรับตัวแปลงสัญญาณวุ่นวายไปหมด ไปดูตามโรงพิมพ์ใหญ่ ๆ เถอะครับ จะมีจานเดียวเทียมตั้งอยู่ทั้งนั้น แต่ตอนนี้ได้ข่าวว่าเอาไว้ตากปลาเค็ม ฮา... ไม่จำเป็นแล้วละครับ เขาเปิดอินเตอร์เน็ทกันแล้ว
เวลานี้คนทั่วไปก็เข้าเว็บไปอ่านสำนักข่าวไทยได้แล้วละครับ ไม่ต้่องรออ่านทางน.ส.พ. ผมก็อ่านข่าวรอยเตอร์จากเว็บไซต์เหมือนกัน ไม่ต้องรออ่านจาก น.ส.พ.ไทย หรือซีเอ็นเอ็นอีกต่อไป ที่สำคัญ บางครั้งมันอาจย้อนศรกัน ข่าวรอยเตอร์ที่เกี่ยวกับประเทศไทยในบางครั้งมีการโค้ดข่าวจากบางกอกโพสต์ (ทั้งที่บางกอกโพสต์ควรรับข่าวจากรอยเตอร์ใช่ไหม) ยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่โค้ดแค่ข่าว แต่โค้ดความเห็นจากคอลัมนิสต์เลยก็มี
เส้นแบ่งตรงนี้นับวันมันจะไม่มีแล้วละครับ ตั้งแต่มีัอินเตอร์เน็ท
เส้นแบ่งที่หายไป นั่นคงเป็นเพียงวิธีการดึงเนื้อหาไปใช้ (อ่าน/ตีพิมพ์/ฯลฯ) ครับ แต่ตัวเนื้อหานั้น คิดว่ายังคงแตกต่างกันอยู่ ระหว่าง สำนักข่าว กับ หนังสือพิมพ์
ที่ว่า "ยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่โค้ดแค่ข่าว แต่โค้ดความเห็นจากคอลัมนิสต์เลยก็มี" นั่นก็แสดงความแตกต่างได้เหมือนกัน นั่นคือตัวรอยเตอร์เองนั้น ไม่มี "คอลัมน์นิสต์" คือไม่แสดงความเห็นลงไปในข่าวด้วยตัวเอง แต่ทำการ รายงาน "ความคิดเห็นของคอลัมน์นิสต์ของนสพ.ไทย"
"ผู้สื่อข่าว" ของวิกิข่าวไทย จะใส่ความคิดเห็นลงไปในรายงานข่าววิกิด้วยหรือไม่ ? หรือจะรายงานเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ซึ่งรวมถึงความคิดเห็นจากแหล่งอื่น) เท่านั้น ?
คำถามอยู่ตรงนี้ครับ
- เพราะจะนำไปสู่คำตอบของเรื่องอย่าง "ความเป็นกลาง" "การวิพากษ์วิจารณ์" "ภาษาปาก" และนโยบายอื่น ๆ (ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร ก็คงมีนโยบายไม่ได้) -- bact' 20:18, 14 มกราคม 2006 (UTC)
-- bact' 20:11, 14 มกราคม 2006 (UTC)
หนังสือเกี่ยวกับสื่อมวลชนไทย
เผื่อมีคนสนใจครับ
- ขอเชิญอ่านและติชมบทตัวอย่างบทหนึ่งจาก หนังสือเกี่ยวกับสื่อมวลชนไทย ที่ผมกำลังเขียน. สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่าน นโยบายบรรณาธิการ ของผม ผมขอแนะนำให้อ่านนั่นเสียก่อน (ถ้าไม่เชื่อกันก็แล้วไป).
- เว็บไซต์ สาระสนเท่ห์ โดย สรรพวร วามวาณิชย์
ตัวอย่าง ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สื่อนำเสนอ
-- bact' 17:39, 15 มกราคม 2006 (UTC)
Wikimania Scholarships
The call for applications for Wikimania Scholarships to attend Wikimania 2010 in Gdansk, Poland (July 9-11) is now open. The Wikimedia Foundation offers Scholarships to pay for selected individuals' round trip travel, accommodations, and registration at the conference. To apply, visit the Wikimania 2010 scholarships information page, click the secure link available there, and fill out the form to apply. For additional information, please visit the Scholarships information and FAQ pages:
Yours very truly,
Cary Bass
Volunteer Coordinator
Wikimedia Foundation
2010 Fundraising Is Almost Here
Hello Wikimedians, My name is Kelly Lyman and I am working for the Wikimedia Foundation during the 2010 Fundraiser. My job is to be the liaison between your community and the Foundation. This year's fundraiser is intended to be a collaborative and global effort; we recognize that banner messages which may perform well in the United States don't necessarily translate well, or appeal to international audiences.
I'm contacting you as I am currently looking for translators who are willing to contribute to this project by helping translate and localize messages into different languages and suggesting messages that would appeal to your readers on the Fundraising Meta Page. We've started the setup on meta for both banner submission, statistical analysis, and grouping volunteers together.
Use the talk pages on meta, talk to your local communities, talk to others, talk to us, and add your feedback to the proposed messages as well! I look forward to working with you during this year's fundraiser. If someone could translate this message I would really appreciate it so that everyone is able to understand our goals and contribute to this year's campaign.
Kelly Lyman 01:27, 21 ตุลาคม 2553 (UTC)