ข้ามไปเนื้อหา

การชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

จากวิกิข่าว, แหล่งข่าวเสรีที่คุณร่วมเขียนได้
เตือน บทความนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 

ในวันเสาร์ที่ 4 และวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่จะถึงนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เตรียมการจัดการร่วมชุมนุมใหญ่โดยสันติของรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ในหัวข้อ "การชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน และถวายฎีกา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่าน พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อกดดัน พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ลาออกจากตำแหน่ง

การเข้าร่วมการชุมนุม

กำหนดการของงาน

ในวันเสารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะจัดการชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในเวลา 13.00 น ที่ ลานพระบรมรูปทรงม้า และถวายฎีกาผ่าน พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในวันเดียวกัน

การเตรียมตัว

  1. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย
  2. ยาประจำตัว-ยาฉุกเฉิน
  3. เครื่องแต่งกาย
  4. โทรศัพท์มือถือ
  5. น้ำยาบ้วนปาก
  6. อาหาร-น้ำดื่ม
  7. กระเป๋าสารพัดประโยชน์
  8. อุปกรณ์เชียร์ห้องน้ำ

ข้อห้าม

  1. ห้ามพกพาอาวุธ
  2. เชื่อถือผู้นําการชุมนุม
  3. เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นที่จุดใด ห้ามเข้าไปมุง

ความเห็นจากฝ่ายรัฐบาล

พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ในวันนี้ (2 ก.พ.) ณ ทำเนียบรัฐบาล พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมายืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง และไม่กังวลกับการชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ โดยมี รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ อธิการบดี มอบกระเช้าดอกไม้จากคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เพื่อให้กำลังใจแก่นายกรัฐมนตรีในการทำงานต่อไป โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ จะพูดในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในเรื่องต่างๆ โดยจะอธิบายอย่างชัดเจนให้ประชาชนเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาสื่อบางฉบับเสนอข่าวบิดเบือนทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งนี้เห็นว่าสื่อต้องเป็นตัวกลางที่จะนำความจริงให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน พร้อมยอมรับว่าเหนื่อย แต่ต้องทำงานเพื่อส่วนร่วมก็จะทำอย่างเต็มที่ และขอให้คณะอาจารย์ประสิทธิประสานวิชาอย่างเต็มที่ ไม่ถูกใครชักจูงได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม ก่อนเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาล เย็นวันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า จะไม่ลาออกจากตำแหน่ง ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา และไม่กังวลกับการชุมนุมของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์นี้

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวเกี่ยวกับ กลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ ที่จะเดินทางเข้ามาสู่กรุงเทพมหานครเพื่อร่วมความความไม่สงบในการชุมนุมในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่จะถึงนี้ โดยได้อ้างถึง น.พ.วิชัย ชัยจิตวนิชกุล ส.ส. อุดรธานี พรรคไทยรักไทย ที่ออกมาระบุว่า จะมีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขนอาวุธมาก่อความไม่สงบ ว่า จากการพิจารณาตามข้อเท็จจริงและหลักการปฏิบัติแล้ว มั่นใจว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะเดินทางมาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพราะความไม่คุ้นเคยกับพื้นที่และไม่น่าจะสะดวกในการปฏิบัติการ รวมถึงข่าวที่ว่ามีสมาชิกกลุ่มเจไอจำนวน 25 คน เข้ามาตั้งฐานทัพในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้หน่วยในพื้นที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและรายงานข้อมูลมาให้ทราบโดยตลอด จึงขอทุกฝ่ายไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องนี้ ผู้บัญชาการทหารบก ยังเห็นว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้มีปัญหาอยู่พอสมควรแล้ว จึงคิดว่าผู้ที่เดินขบวนและแกนนำส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และเป็นปัญญาชนในหลายด้าน คงไม่ทำให้บ้านเมืองบอบช้ำไปมากกว่านี้

ความเห็นจากฝ่ายนายสนธิ ลิ้มทองกุล

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

นายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ได้ออกประกาศ "การชุมนุมประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน ปฏิเสธรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ผ่านสื่อต่างๆ โดยมีใจความสำคัญ เพื่อเน้นยำถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ในการร่วมกันแสดงพลังมวลชน

นายสนธิ ยังได้กล่าวอีกว่า จะจัดงานชุมนุมอย่างสงบ สันติ อหิงสา และปราศจากอาวุท โดยมีจุดยืนที่ว่า ชาวไทยไม่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันปกครองประเทศ และจะไม่ทนให้รัฐบาลชุดนี้นำพาประเทศไทยเดินไปสู่หุบเหวแห่งหายนะได้อีกต่อไป

กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา

วันนี้ (2 ก.พ.) ที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มหาวิทยาลัยรังสิต ชมรมตุลาประชาธิปไตย ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ยกเครื่องเมืองไทย ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่?” โดยมีผู้ร่วมเสวนาจำนวนมาก แทบทั้งหมดเป็นอดีตแกนนำการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535

ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้แสดงจุดยืน ในการเป็นแนวร่วมกดดัน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบ หลังขายทรัพย์ของชาติและนำผลประโยชน์ใส่กระเป๋า และยังมั่นใจว่าพลังมวลชนไม่หวั่นแผนป่วนม็อบ 4 ก.พ.

แหล่งที่มา